ทำไมเราจึงควรใช้ภาชนะลีฟ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยมีการรณรงค์กระแสลดการใช้พลาสติก และวัสดุสิ้นเปลืองที่ไม่เป็นมิตรต่อโลก และไม่เป็นมิตรต่อตัวเราในอนาคตจนทำให้ภาชนะเยื่อธรรมชาติเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น จนบางคนอาจปรับตัวไม่ทัน และยังไม่เห็นว่าทำไมเราต้องจึงต้องรักษ์โลกกันด้วย วันนี้เราจึงมาเล่าให้ฟังว่า ทำไมเราจึงควรลดการใช้พลาสติกและภาชนะจากธรรมชาติดีกว่าอย่างไร

1. เรากินพลาสติกโดยไม่รู้ตัวเข้าไปถึง 5 กรัมต่อสัปดาห์
งานวิจัยหนึ่งในปี 2019 รายงานไว้ว่าคนเรากิน Microplastic (พลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร)เข้าไปมากถึง 5 กรัมต่อสัปดาห์ หรือเทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าจำนวนพลาสติกที่เราใช้มากขึ้น และการที่พลาสติกรีไซเคิลได้ยาก ทำให้พลาสติกกระจายอยู่ทั่วทั้งในอากาศที่เราหายใจ, น้ำที่เราดื่ม รวมถึงอาหารที่เรากินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2. พลาสติกทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
คิดว่าทุกคนน่าจะทราบกันดีกว่าพลาสติกมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก เหตุผลเบื้องหลังคือ ทุกกระบวนของพลาสติกตั้งแต่ผลิตจนการย่อยสลาย ต่อผลร้ายต่อโลกทั้งนั้นเลย การผลิตพลาสติกทำให้ต้องปลดปล่อยสารเคมีอันตรายสู่สิ่งแวดล้อม หากกำจัดพลาสติกโดยการฝังต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 500 ปี ระหว่างการย่อยสลายก็ทำให้ดินเสื่อมโทรมเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ หรือหากกำจัดโดยการเผาก็จะมีการปล่อยก๊าซพิษสู่อากาศ (ก๊าซเรือนกระจก)

แล้วการใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติแทนการใช้พลาสติกดีและเหมาะกับเราจริงหรือ?

1. เริ่มต้นจากวัสดุที่แตกต่าง ดีต่อโลกมากกว่า
ถ้วย-ถุง-ช้อนส้อมพลาสติกหรือโฟม มีแหล่งกำเนิดจากปิโตรเลียม เข้าสู่กระบวนการทางเคมี ส่วนผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ภาชนะจากเยื่อธรรมชาติ, ถุงผ้า ทำจากฟางข้าวหรือชานอ้อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยกว่ามาก

2. คุณภาพดีเทียบเท่าภาชนะจากพลาสติก
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การผลิตภาชนะจากเยื่อธรรมชาติมีความคงทน ทนความชื้น ทนซึม ทนร้อน-ทนเย็นจากอาหารได้ดี แถมยังใช้ได้กับไมโครเวฟ และเตาอบ (ซึ่งพลาสติกบางชนิดไม่สามารถนำเข้าเตาอบได้) และเมื่อใช้งานเสร็จก็ย่อยสลายเป็นปุ๋ยให้ดินต่อ แต่หากใครมีภาชนะพลาสติกอยู่แล้ว ก็แนะนำให้ไว้พกเวลาซื้ออาหารกลับบ้านและใช้ซ้ำจนใช้งานไม่ได้

3. ส่งเสริมเกษตรกรให้มีรายได้
ฟางข้าวและชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรซึ่งมีมูลค่าต่ำ การกำจัดทิ้งมักจะทำได้โดยการเผา ซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม การนำเยื่อธรรมชาติเหล่านี้มาเพิ่มมูลค่า นอกจากจะเป็นการช่วยเกษตรกรให้มีรายได้แล้ว ยังช่วยลดการเผาอีกด้วย

“leev” ภาชนะอาหารจากเยื่อธรรมชาติ 100% เป็นอีกหนึ่งภาชนะทางเลือกทดแทนโฟมและพลาสติก ที่มีคุณภาพสูง ย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แถมยังช่วยเกษตรกรให้มีรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

อ้างอิง
Dalberg. (2019). No Plastic in Nature: Assessing Plastic Ingestion From Nature To People. 
K. Senathirajah, T. Palanisami, University of Newcastle, How much microplastics are we ingesting? Estimation of the mass of microplastics ingested. Report for WWF Singapore, May 2019